Monday 15 October 2012

Market designers win the Nobel Prize 2012! ^^


ขอแสดงความยินดีกับ Prof. Alvin E. Roth และ Prof. Lloyd S. Shapley สำหรับ The Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel 2012
หรือเรามักจะเรียกง่ายๆว่า รางวัล "โนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์" ของปีนี้ค่ะ (หนูดีใจมากๆ :-)

"for the theory of stable allocations and the practice of market design"

ณ โอกาสนี้เลยขอนำลิ้งค์บทความของ Prof. Ockenfels ที่เขียนถึง market design และเราได้แปลเอาไว้ ลงในบล็อกนี้เมื่อปีที่แล้ว มาให้อ่านกันอีกรอบนะคะ เผื่อสนใจ เราแปลยังไม่เก่งมาก แต่มีใจนะ ^^
http://exploy.blogspot.com/2011/05/blog-post.html


รายละเอียดของผู้ได้รับรางวัลทั้งสองตามนี้เลย
http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/economics/laureates/2012/

นอกจากนี้ Prof. Alvin E. Roth ยังเขียนบล็อกส่วนตัวเกี่ยวกับ market design ด้วย เข้าไปอ่านกันได้ น่าสนใจและสนุกนะ เค้าเขียนบล็อกทุกวันเลย สุดยอดแหะ ^^
http://marketdesigner.blogspot.com/

Saturday 22 September 2012

Field Experiment

ผลลัพธ์จากการทดลองในห้อง lab ทำให้เราทราบและพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมการตัดสินใจของคนในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบต่างๆ และได้ยืนยันว่ามนุษย์ไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจอย่างที่โมเดลเศรษฐศาสตร์มาตรฐาน ได้สมมติและทำนายพฤติกรรมเอาไว้
(จะค่อยๆทะยอยเขียนเกี่ยวกับ lab experiments ที่คลาสสิคระดับตำนานมาให้อ่านกันค่ะ)

การทดลองในห้อง lab นั้นมีข้อดีคือนักวิจัยสามารถควบคุมตัวแปร สถานการณ์ ความพึงพอใจ ให้คงที่ได้ และให้เหลือตัวแปรต้นที่ต้องการจะศึกษาเพียงตัวเดียวที่แตกต่างกันไปใน treatment (หรือกลุ่ม) ต่างๆ เมื่อผลการตัดสินใจของผู้เข้าร่วมการทดลองจาก treatment ที่แตกต่างกัน แตกต่างกันไปด้วย นักวิจัยจะสามารถสรุปได้ว่าสิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง treatment เป็นสิ่งที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการทดลอง ดังนั้นจึงมีผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ในสถานการณ์ที่เราสมมติ

อย่างไรก็ตาม ข้อดีที่กล่าวถึงของ lab experiment ก็กลายเป็นจุดด้อยเช่นกัน เพราะในสถานการณ์จริง เป็นไปได้หรือ ที่เราจะสามารถควบคุมทุกอย่างได้ และเหลือตัวแปรเพียงตัวเดียว ในโลกความเป็นจริง มีปัจจัยมากมายหลายหลากที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในสถานการณ์ที่แตกต่างจากในห้อง lab อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นนักทดลองทางเศรษฐศาสตร์จึงเริ่มตบเท้าเดินออกจากห้อง lab และหันมาทำการทดลองกับคนที่ต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่นักวิจัยต้องการจะศึกษาจริงๆ (แทนที่จะเป็นนักศึกษาอย่างที่มักจะใช้ในการทดลองในห้อง lab) และยังสมมติสถานการณ์ให้เหมือนจริงมากที่สุด  หรือเข้าไปศึกษาในสถานการณ์จริงเลย (แทนที่จะใช้คำอธิบายสถานการณ์กลางๆอย่างในการทดลองห้อง lab)

ตัวอย่าง เช่น การออกแบบการประมูลอิเล็กทรอนิคส์ ว่าเวลาการสิ้นสุดการประมูลควรเป็นอย่างไร ควรกำหนดเวลาตายตัว เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ให้หยุดการประมูลทันที (ebay) หรือให้ขยายเวลาการประมูลออกไปอีก 15 นาที ทุกครั้งที่มีการเสนอราคาใหม่เข้ามา (amazon)
lab experiment จะกำหนดกฎระเบียบ ให้เงินตั้งต้น และระบบการตอบแทนในการทดลองเหมือนกันเกือบทั้งหมดใน treatment ต่างๆ ยกเว้นสิ่งที่ต้องการจะดูว่าส่งผลอย่างไรต่อการตัดสินใจ ในที่นี้ก็คือการประมูลจะสิ้นสุดอย่างไร เมื่อออกแบบการทดลองแล้วก็เชิญนักศึกษาเข้ามาเล่นเกมที่เราได้ออกแบบไว้
ส่วน field experiment จะมีความสมจริงขึ้น คือ นำเกมแบบเดียวกับเกมใน lab ไปเล่นกับคนจริงในสถานการณ์นั้นๆ ในที่นี้ก็คือผู้ที่ต้องการประมูลของใน internet จริงๆ โดยการตั้งประมูลของใน internet ขึ้นมาจริงๆ

หากมองในแง่การออกแบบนโยบายต่างๆแล้ว หลังจากเราศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจพื้นฐานของคนในห้องแลปแล้ว เราควรนำกฏกติกาที่ได้ออกแบบแล้วไปทดลองในสนามจริงก่อนที่จะประกาศนโยบายออกไปจริงๆ ก็น่าจะดีไม่น้อยค่ะ

เว็บไซต์เกี่ยวกับ economic field experiment ที่เจ๋งมากของ Prof. John A. List ปรมาจารย์ด้าน field experimentชื่นชมอาจารย์ที่ทุ่มเทเพื่อวิทยาศาสตร์มากมาย ขอบพระคุณอาจารย์ที่ทุ่มเทกำลังและทรัพยากรเพื่อสร้างเว็บนี้ค่ะ
http://www.fieldexperiments.com/